วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม






















ผมหยักศก หรอ ผมตรง
จากที่กล่าวมาแล้วนั้นไม่ได้หมายความว่าลักษณะต่างๆทุกอย่างจะเป็น ลักษณะทางพันธุกรรม  ลักษณะบางอย่างเราไม่ถือว่าเป็นลักษณะทาง
พันธุกรรม  เพราะลักษณะบางอย่างอาจเกิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เกิดขึ้นจากการ ถ่ายทอดลักษณะจากบรรพบุรุษ  เช่น  ลักษณะที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ  เช่น  แผลที่เกิดจากมีดบาด  หรือเกิดจากการทำศัลยกรรมตกแต่งเพิ่มเติมทาง
การแพทย์  เป็นต้น

ความแปรผันทางพันธุกรรม
          นักวิทยาศาสตร์จำแนกสิ่งมีชีวิตหลายชนิดออกจากกัน  โดยดูจากความ คล้ายคลึง  และแตกต่างของสิ่งมีชีวิตเหล่านั้น  ความแตกต่างของสิ่งมีชีวิตที่ ต่างชนิดกัน  มักจะมองเห็นได้อย่างชัดเจน  เช่น  โลมาจะต่างไปจากลิง เป็นอย่างมาก  ถึงแม้สัตว์ทั้งสองชนิดนี้จะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน  นอกจากนี้ยังพบว่า  ความแตกต่างเกิดขึ้นจากความแปรผันภายใน สิ่งมีชีวิต ชนิดเดียวกันได้  แต่จะมีความแตกต่างน้อยกว่าที่เกิดขึ้นระหว่างสิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน
เราทั้งหลายถูกจัดอยู่ในกลุ่มของมนุษย์  เนื่องจากเรามีลักษณะหลายอย่าง เหมือนกัน  และมนุษย์แต่ละคนมีความแตกต่างกัน  แม้แต่ฝาแฝดที่เป็นแฝดร่วมไข่  ถึงแม้ว่าจะมีหน้าตาใกล้เคียงกันมากที่สุด  ก็ยังมีลักษณะแตกต่างกัน  ความแตกต่างดังกล่าวเรียกว่า “ความแปรผันทางพันธุกรรม” (genetic variable)
ความแปรผันทางพันธุกรรม  จำแนกได้ 2 ประเภท  คือ
  1. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง
ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง (discontinuous variation)  เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน  ลักษณะความแปรผันไม่ต่อเนื่องเกิดจากอิทธิพลทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว
เช่น  ลักษณะลักยิ้ม (มีลักยิ้มหรือไม่มีลักยิ้ม)  ติ่งหู (มีติ่งหูหรือไม่มีติ่งหู)  ห่อลิ้น  (ห่อลิ้นได้หรือห่อลิ้นไม่ได้)  เป็นต้น







2. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง
 ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง  (continuous  variation)  เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถแยกความแตกต่างได้เด่นชัด  เช่น  ความสูง  น้ำหนัก  โครงร่าง  สีผิว  ซึ่งเป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม  และสิ่งแวดล้อมร่วมกัน  เช่นความสูงของคน  ถ้าเราได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มีการออกกำลังกาย  จะทำให้เรามีร่างกายสูงขึ้นได้








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น